Trinket

‘แฟนคลับ’ ในยุคปัจจุบันดูเหมือนจะเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมบันเทิงได้อย่างดีเยี่ยม เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ล้วนมีกำลังซื้อและมีจุดมุ่งหมายในการใช้จ่ายเพื่อศิลปินหรือบุคคลใดที่พวกเขาศรัทธา เป็นที่ยึดเหนี่ยว หรือเป็นแรงใจในการใช้ชีวิตอยู่ แฟนคลับจึงกลายเป็นบุคคลสำคัญในยุคที่ข้าวของราคาพุ่งสูงขึ้นไม่หยุด และประชาชนทั่วไปแทบจะคิดแล้วคิดอีกกว่ายอมซื้อ แต่พวกเขามีกำลังซื้อได้โดยไร้ข้อแม้ และนั่นจึงเป็นเหตุผลของการถือกำเนิดแพลตฟอร์มใหม่ล่าสุดที่ตั้งใจเข้ามาเป็นอีกหนึ่งบทบาทในอุตสาหกรรมแฟนคลับ-ศิลปินนี้ด้วยเช่นกัน

‘แมธธิว บาดาลัคโค (Matthew G. Badalucco)’ นักลงทุนที่คร่ำหวอดในตลาด Venture Capital หรือธุรกิจที่ระดมเงินทุนแนว Startup ซึ่งเคยทำงานมาแล้วในหลาย ๆ ประเทศของเอเชีย ได้เล็งเห็นว่าแวดวงแฟนคลับในประเทศไทยน่าจะเป็นพื้นที่ที่ช่องว่างของการสร้างความพิเศษในแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนน่าจะทำงานได้อย่างไม่ยากเย็นนัก จึงนำมาสู่การก่อตั้งแพลตฟอร์มใหม่ที่ใกล้จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ ในชื่อ ‘Trinket’

แมธธิว บาดาลัคโค (Matthew G. Badalucco) Trinket

สิ่งนี้คืออะไร ดีอย่างไร แตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่นที่เกี่ยวข้องกับแฟนคลับ-ศิลปินแค่ไหน และที่มาที่ไปของแพลตฟอร์มนี้เป็นอย่างไร เรา SUM UP มาให้ได้รู้จักกัน

ที่มาที่ไปของ ‘Trinket’

ตามความหมายของพจนานุกรมแล้ว ‘Trinket’ หมายถึงของประดับ หรือของกระจุกกระจิกเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มีค่ามากกว่าขนาดที่มองเห็นด้วยตา ซึ่งตรงกับอุดมการณ์และสิ่งที่แพลตฟอร์มนี้กำลังจะมอบมันให้กับผู้ใช้งาน ผ่านศิลปินหรือผู้ที่มีชื่อเสียงที่จะเข้ามาเป็น Artist ภายในแพลตฟอร์มแห่งนี้

ว่ากันอย่างง่าย ๆ ‘Trinket’ คือพื้นที่ที่เปิดไว้ให้ผู้มีชื่อเสียง หรือผู้ที่มีแฟนคลับที่แข็งแรงเป็นของตัวเองได้เข้ามาใช้งาน เพื่อใช้เป็นพื้นที่ขายสินค้าสุดพิเศษที่มีขายแค่เพียงในแพลตฟอร์มนี้เท่านั้น ถามว่าทำไมต้องมาซื้อของจากศิลปินที่แพลตฟอร์มนี้ นั่นเป็นเพราะว่าในสินค้าทุกล็อตที่ขายออกไปมีจำนวนจำกัด มีเลขประจำสินค้าที่ไม่ซ้ำกันทุกชิ้น และที่สำคัญที่สุดที่ยังไม่เคยมีมาก่อน คือบนสินค้าจริงจะมี QR Code ที่สแกนไปแล้วจะพบกับใบรับรองการเป็นเจ้าของแบบดิจิทัล (Digital Ownership Certificate) ซึ่งนอกจากจะทำให้สินค้าพิเศษแล้ว ยังทำให้เจ้าของสินค้านั้น ๆ รู้สึกถึงความพิเศษมากขึ้นไปอีก

Trinket

อีกทั้งรูปแบบการขายก็สามารถขึ้นอยู่กับศิลปินคนนั้น ๆ ได้ว่าจะขายจำนวนกี่ชิ้น เปิดขายภายในระยะเวลาเท่าไหร่ หมดจากกรอบเวลานี้สินค้าเหล่านั้นก็จะไม่มีขายอีกแล้ว หรือจะขายแบบสินค้าปลีกรายชิ้น ขายแบบกาชาปอง (Clear Box Drop) คือเห็นว่าสินค้าหลักขายอะไร แต่ละจำนวนสินค้าทั้งหมดมีสิทธิ์พิเศษบางอย่างอยู่ในสินค้าบางชิ้นเป็นจำนวนน้อย อย่างสิทธิ์การวิดีโอคอลกับศิลปินแบบส่วนตัว เป็นต้น และการขายแบบกล่องสุ่ม (Bilnd Box Drop) คือเราจะไม่รู้เลยว่าเราจะได้สินค้าอะไรจนกว่าจะสั่งซื้อมาเป็นเจ้าของ

จุดเด่นและความแตกต่างที่พิเศษและเฉพาะตัว

จุดที่แตกต่างจากแพลตฟอร์มขายสินค้าทั่วไป คือการมีระบบที่บอกข้อมูลของผู้ใช้งานอย่างละเอียด เราซื้อสินค้าของศิลปินคนนี้ไปแล้วกี่ชิ้น ใช้เงินซื้อไปกี่บาท หรือพยายามซื้อสินค้ากาชาปองเพื่อจะได้รับสิทธิ์วิดีโอคอลไปแล้วกี่ครั้ง เราจะเห็นจำนวนเงินที่ผู้ใช้งานแต่ละคนใช้จ่ายภายในแพลตฟอร์มเรียงกันตามลำดับ ซึ่งจะมาเป็นสิทธิพิเศษบางอย่างในการแบ่งลำดับชั้นของ Fan และ Super Fan ภายในแพลตฟอร์มได้ด้วย

สินค้าบางประเภท ศิลปินอาจจะกำหนดได้เลยว่าผู้มีสิทธิ์ซื้อ คือ Top Spender 50 อันดับแรกเท่านั้น หรือสินค้าถัดไปที่จะขาย จะซื้อได้ก็ต้องเคยซื้อสินค้าชิ้นก่อนหน้ามาแล้วเท่านั้น ตรงนี้ก็เป็นส่วนสำคัญในการทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกพิเศษมากยิ่งขึ้นไปอีก

Trinket

ไปจนถึงระบบที่ออกแบบไว้เพื่อสร้างประสบการณ์สุดพิเศษให้กับแฟนคลับบางคน อย่างการสร้างห้องแชตเฉพาะการวิดีโอคอลส่วนตัวกับศิลปิน ที่ในช่วงนาทีท้าย ๆ เราสามารถบันทึกวิดีโอเก็บไว้ว่าเราเคยคุยแบบส่วนตัวผ่านแพลตฟอร์มนี้กับศิลปิน, การไลฟ์แบบ Exclusive เฉพาะบุคคล อย่างกลุ่มแฟนคลับ Top Spender หรือกลุ่มแฟนคลับที่ได้รับสิทธิ์เข้าชมจากการซื้อสินค้าประเภทกล่องสุ่ม ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขอะไรก็ได้ที่มีความแตกต่างหลากหลาย และอาจจะคาดการณ์เกณฑ์การแบ่งฐานแฟนได้ไม่ถึง นั่นแปลว่าในฐานะแฟนคลับเราก็ต้องซื้อสินค้าของศิลปินคนนั้น ๆ ให้มากที่สุด เพื่อจะมีโอกาสพิเศษร่วมกับพวกเขาบนแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าศิลปินแห่งนี้

นอกจากนี้ยังมีระบบ Vintage Shop ที่เปิดให้ผู้ซื้อสินค้าในแพลตฟอร์มที่ต้องการขายต่อกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ได้แลกเปลี่ยนสินค้ากันได้ด้วยการประมูล หรือการเสนอราคา โดยจะมีการส่งต่อใบรับรองฯ อย่างเป็นกิจจะลักษณะ และศิลปินจะยังได้ส่วนแบ่งตอบแทนจากการขายสินค้าต่อของแฟนคลับไปเป็นทอด ๆ กลับมาด้วยเช่นกัน

จากแนวคิดวันแรก สู่วันที่ใกล้เปิดตัว ‘Trinket’ ของแมธธิว

แมธธิวเล่าถึงที่มาที่ไปของโปรเจกต์นี้ว่า ใช้เวลากับโปรเจกต์นี้ร่วม 2 ปี 6 เดือน หลังจากผ่านประสบการณ์การเป็นนักลงทุนแบบร่วมทุนมาแล้วหลายครั้ง ทำให้เขาเห็นว่าในวงการ Tech Startup คุณจะพบคนที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งเจ๋ง ๆ ที่ดูเหลือเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ แต่มันก็เป็นไปได้จริง ทำให้เขาเองในฐานะนักลงทุน เขาก็มีไอเดียบางอย่างที่อยากจะลองทำขึ้นมาบ้างในวงการ Startup ในฐานะผู้ก่อตั้ง นั่นคือการมองไปยังสินค้ากลุ่มตลาดของสะสมซึ่งกำลังได้รับความนิยม อีกทั้งยังเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่น่าสนใจ และปั้นมันใหม่ภายใต้แนวคิด Hyper-Personalized Merch แบบ Limited Edition เฉพาะบุคคลครั้งแรกของโลก

แมธธิว บาดาลัคโค (Matthew G. Badalucco) Trinket

เมื่อถามถึงการเปิดตัวที่ค่อย ๆ ใกล้เข้ามาทุกทีในเดือนหน้านี้ แมธธิวบอกว่ามันเป็นช่วงเวลาที่ดูเหนือจริงมาก มันทำให้เขารู้สึกแปลกออกไปสักหน่อย เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาเขาวนเวียนอยู่กับแค่ไอเดียเชิงวิสัยทัศน์ แต่ตอนนี้มันกำลังใกล้เข้าสู่ความเป็นจริงแล้ว ซึ่งมันเป็นโลกที่แตกต่างจากที่เขาทำงานนี้ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งมาโดยตลอด เขาอาจจะรับรู้ความรู้สึกได้อย่างชัดเจนเมื่อโปรเจกต์นี้เริ่ม Launch อย่างเป็นทางการในอีกไม่ถึง 1 เดือนข้างหน้านี้ หลังจากที่เขาได้ลองใช้งานครั้งแรกไปแล้วกับเวทีการประกวด Miss Universe Thailand ที่ทำให้เขาได้เห็นการใช้งานกับผู้คนจริง ๆ มาบ้างบางส่วน

แมธธิว บาดาลัคโค (Matthew G. Badalucco) Trinket

ท้ายที่สุดแล้ว ‘Trinket’ จะเข้ามามีส่วนแบ่งทางการตลาดในฐานะ Startup ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มการซื้อขายในโลกของแฟนคลับมากน้อยเพียงใด และ Fan Economy ในประเทศไทยนั้นจะทำให้แพลตฟอร์มแห่งนี้เติบโตได้อย่างไรบ้าง ผู้ใช้งานทั่วประเทศจะเป็นคำตอบให้กับคำถามเหล่านี้แน่นอน

สำหรับใครที่เป็นแฟนคลับศิลปิน หรือผู้มีชื่อเสียงคนใดก็ตาม อยากให้ลองดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Trinket มาลองติดตั้งในเครื่องก่อนได้เลยตั้งแต่ตอนนี้ ทั้งบน Google Play และ App Store

AUTHOR

Content Creator

พนักงานมือใหม่ที่สนุกกับการหาเรื่องมาเล่า ไม่มีสิ่งที่ชอบตายตัว มีแต่สิ่งที่ชอบแล้ว และกำลังหาสิ่งใหม่ที่ชอบต่อไป

ความสำเร็จอยู่ที่ไหน
ความสำเร็จอยู่ที่ไหน