อนกลับไปในอดีต ถ้าพูดถึงการทำการตลาด เราคงนึกถึงการทำตลาดแบบดั้งเดิมเพียงไม่กี่รูปแบบ เช่น การทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ในช่องทางต่าง ๆ หรือการลดแลกแจกแถม ทำโปรโมชั่นต่าง ๆ ซึ่งเมื่อมีออนไลน์เข้ามาการตลาดก็ต้องปรับตัวตามเช่นกัน การเปลี่ยนแพลทฟอร์มการลงโฆษณา จากออฟไลน์ก็กลายเป็นออนไลน์มากขึ้น มีการยิงแอด ตลอดการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อสร้างการรับรู้ถึงผู้บริโภค
Meme คืออะไร
มีม (Meme) คือมุกขำขันล้อเลียน ที่สะท้อนถึงความคิดและมุมมองทางวัฒนธรรม ปรากฏอยู่ในรูปแบบของการเขียน รูปภาพ คลิปวิดีโอสั้น มักเป็นการลอกเลียนสถานการณ์ คน สัตว์ สิ่งของ หรือสิ่งต่างๆ ที่สร้างความขบขันในวัฒนธรรมนั้นๆ ซึ่งปัจจุบันมีมถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายบนโลกออนไลน์ เพราะมีมสามารถสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ถึงสิ่งที่ต้องการพาดพิงถึงได้ง่ายและรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้เวลาอธิบายให้ยืดยาว
โดยคำว่า “มีม” มีที่มาจากคำว่า “Gene” ที่แปลว่า “พันธุกรรม” ผสมกับภาษากรีก “mɪmetɪsmos” หรือ mimema ที่หมายถึง การลอกเลียนแบบ จนกลายเป็นคำว่า “Meme” ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
การเลือกใช้ให้เหมาะกับแบรนด์
- ใครเป็นกลุ่มเป้าหมาย (Target Audience)
เพราะการใช้ Meme จะหมดประโยชน์ทันที ถ้า Meme เหล่านั้น ส่งสารถึงผู้รับสารผิดกลุ่ม การที่เรารู้กลุ่มเป้าหมายของเราอย่างชัดเจน ทำให้เราเลือกเทมเพลต Meme มาใช้สร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ - เรียบง่าย และเฉพาะกลุ่ม
ข้อดีและความท้าทายของ Meme คือสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ปกติแล้วยากจะเข้าถึงและมีเนื้อหาที่โดนใจกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้กำหนดมาอยู่แล้ว แต่อยู่ที่เราจะสร้างสรรค์อย่างไรให้เนื้อหาเดิมไม่เพี้ยนและเข้ากับแบรนด์หรือสินค้าของเรา ความเรียบง่ายในการนำเสนอจึงสำคัญที่สุดสำหรับการทำการตลาดกับ Meme - ทำตามกฏของ Meme
Meme ไม่ใช่เพียงแค่รูปที่ทำขึ้นมาง่าย ๆ และโพสต์ขึ้นมาเล่น ๆ แต่ยังมีกฎเกณฑ์รายละเอียดปลีกย่อยในการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ตัวอักษรใหญ่และอ่านง่าย จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วม (Engagement) สูงสุด
การใช้ Meme ที่มีอยู่แล้ว ต้องไม่เปลี่ยนสิ่งที่ Meme ดั้งเดิมต้องการจะสื่อ เพื่อป้องกันการสับสน
การปรับแต่ง Meme ที่มากเกินไป อาจส่งผลลบต่อ ชื่อเสียงของแบรนด์
ใส่ข้อความ CTA (Call to Action) อย่างมีชั้นเชิง - ทำให้เป็นไวรัล (Viral)
การเลือกหยิบใช้ Meme มาทำการตลาด ก็ควรเลือกหยิบชิ้นที่เป็น Trend หรือ Viral ในช่วงนั้น ๆ ผลงานของเราก็จะถูกขับส่งให้ผู้บริโภคเห็นมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ต้องแน่ใจว่าการหยิบมาใช้ ตัว Meme จะต้องเข้ากับตัวแบรนด์ของเราด้วย หากยัดเยียดมากเกินไป อาจจะส่งผลเสียกับการทำการตลาดนั้น ๆ ของเราแทนที่จะเป็นผลดี
สถิติที่น่าสนใจของ Meme
- มีผู้คนเพียง 20% เท่านั้นที่จะอ่านข้อความบนหน้าเพจ จากผลการศึกษาจาก Omnicore ในปี ค.ศ. 2023 (พ.ศ. 2566) อ้างว่า คนส่วนใหญ่กว่า 80% ดูแต่วิดีโอหรือภาพต่าง ๆ มีเพียง 20% เท่านั้นที่จะอ่านข้อความบนหน้าเพจ ทำให้เห็นว่าการเล่าเรื่องผ่านภาพบนโซเชียลมีเดียมีประสิทธิภาพมากกว่า ในช่วงเวลาที่กลุ่มผู้ใช้งานมีแต่โฆษณาที่มาพร้อม CTA (Call to Action)
- ผู้บริโภคกว่า 40% นิยมส่ง Meme ให้กันเกือบทุกวัน
ในปี 2022 Wavemaker ได้รายงานว่ากลุ่มคนอายุ 13 – 35 ปีกว่า 55% ส่ง Meme ให้กันทุกสัปดาห์ และ 30% ส่ง Meme ให้กันแทบจะทุกวัน ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นทั้ง Gen Y และ Gen Z ที่กินสัดส่วนกลุ่มผู้บริโภคกว่า 40% ของทั้งหมด ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่น่าสนใจในการทำตลาด และคนกลุ่ม Millennial (หรือ Gen Y) พบเห็น Meme บนโซเชียลต่าง ๆ โดยเฉลี่ย 20-30 ชิ้นต่อวัน
แบรนด์ที่โดดเด่นในการเลือกใช้ MEME
“เนื้อแท้” ร้านอาหารชื่อดังของ “โต วีรชน ศรัทธายิ่ง” ที่กระแสไม่เคยหายไปจากหน้าฟีด
ไม่ว่ากระแสอะไรจะเข้ามา เขาสามารถคว้าไว้และจับมาออกมาเป็นคอนเทนต์ที่ไวรัลได้ตลอด ซึ่ง Meme ที่พวกเขาใช้ ก็นับว่าเป็นที่ชื่นชอบของผู้ติดตาม หรือ ร้านคอมพิวเตอร์ชื่อดังอย่าง iHAVECPU ที่เราจะมักเห็นมีมฮา ๆ จากเพจพวกเขา ซึ่งรูปส่วนใหญ่ที่ใช้ใน Meme จะเป็นรูปของคุณเปา เจ้าของ iHAVECPU โดยทั้งเพจ”เนื้อแท้” และ “iHAVECPU” ก็ผสมผสานกันระหว่างการใช้ Meme marketing และ CEO Branding ซึ่งถือว่าเป็นการตลาดยุคใหม่ทั้งคู่
สิ่งที่ควรระมัดระวังในการใช้
- การเล่นกับกระแส ไม่ต่างจากการราดน้ำมันในกองไฟ หากเล่นไม่ดูตาม้าตาเรือ อาจส่งผลเสียต่อแบรนด์มากกว่าที่คิด
- ช้าไปก็ตลาดวาย ! ในเมื่อทุกแบรนด์ทำ Meme marketing แข่งขันกัน ทุกคนแข่งกันเรื่องความเร็ว ยิ่งเร็วตามกระแสมากเท่าไรยิ่งดี เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลต่อเรื่อง Engagement และยอด Reach ทั้งสิ้น
สุดท้ายนี้ Meme marketing จะมีใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ ล้วนต้องอาศัยประสบการณ์ในการวิเคราะห์สถานการณ์ แล้วอย่าลืมสำรวจแบรนด์ของตนเองให้ดี ว่าเหมาะกับการเล่น Meme ประเภทไหน เพราะแต่ละ Meme ก็มีฟังค์ชั่นในตัวที่ต่างกัน หากใช้ผิดประเภทอาจเกิดผลเสียมากกว่า