หากพูดถึง ‘น้ำหอม’ หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเพียงเครื่องสำอางที่ใช้ประทินให้กลิ่นกายหอม แต่อันที่จริงแล้วน้ำหอมคือตัวแทนของกลิ่น และกลิ่นก็คือตัวแทนของความทรงจำ ลองจินตนาการเล่น ๆ ว่า เมื่อเรากลับบ้านที่เราไม่ได้กลับมาเป็นเวลานาน บ้านหลังนั้นก็จะมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และภายใต้กลิ่นเหล่านั้นก็แฝงไปด้วยความทรงจำมากมาย เช่น ความทรงจำในวัยเด็ก ความทรงจำตอนทะเลาะกับพ่อ หรือความทรงจำตอนรู้สึกสูญเสียเป็นครั้งแรก และ ‘น้ำหอม’ ก็ทำหน้าที่ไม่ได้ต่างไป นั่นก็คือการ Remind ถึงความทรงจำอะไรบางอย่างนั่นเอง

โดยอีกหนึ่งคนที่หลงไหลในศาสตร์ของน้ำหอมก็คือ ‘นุชี่ อนุชา’ ผู้กำกับหนังดาร์กที่ได้รางวัลมากมายนับไม่ถ้วน โดยพี่นุชี่ได้เปิดกรุน้ำหอมและพูดคุยกับพวกเราถึงศาสตร์น้ำหอมกับความทรงจำ ทั้งยังเชื่อมโยงไปถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โดยหยิบเอาน้ำหอม 4 ขวด ขึ้นมาเล่าถึงเรื่องราวต่าง ๆ

L’heure Bleue by Guerlain (1912)
“ความทรงจำก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 จะเริ่ม”

ขวดแรกมีชื่อว่า L’heure Bleue by Guerlain (1912) น้ำหอมขวดนี้เป็นแรงบันดาลใจในการตั้งชื่อหนังที่ประสบความสำเร็จของพี่นุชี่อย่างเรื่อง ‘The Blue Hour อนธการ’ โดยกลิ่นของน้ำหอมขวดนี้เป็นการบันทึกเอาความทรงจำก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 กำลังจะเริ่ม เป็นช่วงความทรงจำคลุมเครือระหว่างความสุขกับความเศร้า ความจริงกับความฝัน ซึ่ง Mood and Tone ตรงกับหนังเรื่อง ‘The Blue Hour อนธการ’ จึงได้เอามาตั้งเป็นชื่อหนัง 

Colony by Jean Patou (1938)
“ความทรงจำของการล่าอาณานิคม”

น้ำหอมขวดนี้มีลักษณะเป็นรูปสับปะรด น้ำหอมขวดนี้ถูกทำขึ้นในช่วงล่าอาณานิคม แรงบันดาลใจของการทำน้ำหอมขวดนี้จึงมาจากสภาพสังคม ณ เวลานั้นที่จะนึกถึงหมู่เกาะอันไกลโพ้นที่ได้ไปครอบครอง จึงได้มีลักษณะขวดและกลิ่นเป็นสับปะรด เพราะสับปะรดเป็นกลิ่นที่มีความ Exotic Fruit โดยภายหลังได้มีการตีความว่าเป็นกลิ่นสัปรดไหม้ ๆ ควัน ๆ ที่อาจจะเอาสับปะรดกับกลิ่นเครื่องหนัง และควันที่ดูจะไม่เข้ากันแต่จับมาไว้ด้วยกัน อาจจะเทียบเคียงคล้าย ๆ กับผู้ล่าอาณานิคมกับผู้ถูกล่าอาณานิคมนั่นเอง

Shocking by Schiaparelli (1937)
“ประวัติศาสตร์ของสี Shocking Pink”

ขวดนี้ได้บันทึกถึงช่วงเวลาประวัติศาสตร์เอาไว้ว่า คนคิดสี “Shocking Pink”  ก็คือคุณ Schiaparelli และแบรนด์นี้เป็นเหมือนแฟชั่นเฮ้าส์เดียวกับ Chanel ประมาณยุคสงครามโลก ครั้งที่ 1 ต่อครั้งที่ 2 ประมาณช่วงปี 1930 ซึ่งลักษณะของขวดน้ำหอมขวดนี้จะเป็นรูปหุ่นและมีดอกไม้ประดับอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของการทำน้ำหอม ลักษณะขวดเป็นรูปทรงหุ่นเลยก็ว่าได้ 

Diorissimo by Dior (1956)
“ความทรงจำของศิลปะการทำน้ำหอม”

น้ำหอมขวดนี้มีลักษณะขวดที่สวยงามอลังการ และสื่อถึงการ Craft ในการสกัดน้ำหอมเพราะกลิ่นของน้ำหอมขวดนี้คือกลิ่นของดอก Lily of the Valley ซึ่งข้อเสียของดอกไม้ชนิดนี้คือ บอบบางเกินไป จึงไม่สามารถสกัดกลิ่นออกมาเป็นน้ำหอมได้ เพราะฉะนั้นคนปรุงน้ำหอมในยุคนั้นจึงพยายามทำกลิ่นนี้ออกมาด้วยสารหอมที่มีอยู่ โดยใช้วิธีไปนั่งดมดอกไม้ แล้วก็กลับมานั่งทำ วนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็ได้ถูกยกย่องว่าเป็นน้ำหอมกลิ่น Lily of the Valle ที่ดีที่สุด ซึ่งการทำน้ำหอมกลิ่นนี้จึงสื่อไปถึงศิลปะที่มีความพยายาม ความการพิถีพิถัน ในการทำกลิ่นน้ำหอมออกมานั่นเอง

อย่างไรก็ดี นี่เป็นเพียง 4 ขวดน้ำหอมที่พี่นุชี่ได้ยกออกมาจากชั้นวางและเล่าถึงความทรงจำและประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงไปกับกลิ่นของน้ำหอม แต่ภายในห้องทำงานของพี่นุชี่ยังมีขวดน้ำหอมอีกมากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งน่าจะยังเหลือความทรงจำอีกหลายเรื่องราวภายใต้ขวดน้ำหอมแต่ละขวด เพราะ ‘กลิ่น’ ก็เท่ากับ ‘ความทรงจำ’ โดยสามารถรับชมบทสัมภาษณ์เกี่ยวกับศาสตร์แห่งน้ำหอม ความทรงจำ และการทำหนังของพี่นุชี่ผ่านทาง