แบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

ถ้าจะพูดถึงอาหารที่ช่วยชีวิตเราในช่วงสิ้นเดือน คงจะนึกถึงอะไรไปไม่ได้นอกจากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งสาเหตุที่ทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้รับความนิยม มาจากราคาที่ประหยัด สามารถนำมาประกอบอาหารได้ง่าย โดยในปี 2566 คนไทยบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสูงเป็นอันดับที่ 9 ของโลก เติบโตจากปีก่อน 14% และมีมูลค่าทางการตลาดสูงถึง 20,000 ล้านบาท

ซึ่งข้อมูลจาก YouGov ที่ทำการสำรวจจากผู้บริโภค ในหัวข้อหลัก Brand Equity หรือคุณค่าของแบรนด์ โดยวัดจากการตัดสินใจในการเลือกซื้อของผู้บริโภค ซึ่งทำการสำรวจและเก็บข้อมูลเมื่อปี 2023 ผลสำรวจออกมาดังนี้

  • มาม่า 50.3%
  • ไวไว 33.2%
  • ยำยำ 31.3%
  • นิสชิน 22.3%

โดยเมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตมาม่า มีรายได้ 27,000 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,700 ล้าน และย้อนไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา 2566 มาม่าได้แจกโบนัสแก่พนักงานเป็นจำนวนทั้งสิ้น 3-5 เท่าของเงินเดือน ซึ่งมีพนักงานกว่า 6,000 คนที่จะได้รับโบนัสนี้

ส่วนอันดับ 2 อย่าง “ไวไว” หรือ บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด โดยในปี 2565 มีรายได้ 7,734 ล้านบาท กำไรสุทธิ 125 ล้านบาท

อันดับ 3 “ยำยำ” หรือ บริษัท วันไทยอุตสาหกรรมการอาหาร จำกัด โดยในปี 2566 มีรายได้ 6,852 ล้านบาท กำไรสุทธิ 287 ล้านบาท

สุดท้ายที่อันดับ 4 กับ “นิสชิน” บริษัท นิสชิน ฟูดส์ (ไทยแลนด์) จำกัด โดยในปี 2566 มีรายได้รวม 1,944 ล้านบาท กำไรสุทธิ 113 ล้านบาท

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

อ้างอิง